Thursday, May 19, 2016

The Power of Breath - English script



The power of breath adapted from "Science of breath by Yogi Ramacharaka (printed in 1903 - 1904). The Indian and Chinese people practiced this kind of breathing 2-3000 years ago.

Step 1

Stand erect. Face up. Chest up. Lift shoulders up and inhale deeply through nose. Hold your breath for a few seconds. Push air down to lower part of lungs. Bend shoulders forward with face down. Pretend you are going to whistle.

Step 2

Exhale air out in one great breath through wide open mouth.

Step 3

Face and shoulders up. Inhale through nose. Breath in slowly.

Step 4

Bend shoulders forward with face down. Exhale slowly through mouth. Squeeze your stomach. Release air out from your lungs.


Breath exercise helps fight allergies, cold, sinus, asthma, bronchitis, back pain, snores and many respiratory symptoms.


A side effect is the practitioner will lose weight. It helps lowering cholesterol and sugar levels and fight heart disease.

Thursday, May 12, 2016

The Power of Breath and simple exercise ฝึกพลังลมปราณรักษาโรคภูมิแพ้ โรคจากทางเดินหายใจ และนอนกรน


การฝึกพลังลมปราณเพื่อรักษาสุขภาพ  บรรยาย/ สอนฝึก  เพื่อบริการประชาชนและผู้สนใจทั่วไป  ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามตารางการฝึกอบรมได้ที่  สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์  โทรศัพท์  02 613 3820 - 25



วิดิโอจาก YouTube โพสต์โดยคุณ Vatcharachol
ตอนนี้ผมไม่หนุ่มเหมือนในวิดิโอแล้วครับ

This exercises help fight allergies, cold, sinus, asthma, bronchitis, back pain and snores. A side effect is it helps losing weight and lower cholesterol and sugar levels and heart disease.

No special sport equipment needed. Only a small vacant space to exercise with arms span. It takes only 30 minutes, 2 - 3 times a week.

If it seems too good to be true. You can observe his blood test below at the age of 74 years old.


ผลจากการฝึกพลังลมปราณ  ผลตรวจเลือดล่าสุดเมื่อวันที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์ 2559 โดย นายแพทย์ ดร. ภาวิทย์ เพียรวิจิตร  โรงพยาบาลรามาธิบดี


อาจารย์ ดร. ป๋วย กับรางวัลแมกไซไซ

เมื่อปลายสิงหาคม 2508 ผมถูกตามตัวจากชุมนุมวรรณศิลป์ ส. มธ. ซึ่งผมเป็นรองประธาน  ให้ไปประชุมร่วมกับผู้แทนนักศึกษาปีที่ 2 และ 3 เพื่อหารือกันว่า

ศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์  คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์  ซึ่งเพิ่งรับแต่งตั้งเมื่อราว 2 เดือนก่อนนั้น  ท่านได้รับรางวัล "แมกไซไซ" ถามว่าเหล่าศิษย์คิดจะแสดงความยินดีต่อท่านอย่างไรดี

ผู้แทนนักศึกษาปีที่ 3 เสนอว่าให้เราจัดของขวัญของที่ระลึกปีละชิ้น  โดยชั้นปีที่ 3 จะจัดกระเช้าใบใหญ่    ชั้นปีที่ 2 อย่าจัดซ้ำกัน  ผมจึงเสนอว่าจะแต่งกลอนสดุดีท่านอาจารย์ ดร. ป๋วย

เรามีเวลาเพียง 5 วัน  จะถึงกำหนดที่ท่านคณบดีจะมารับการแสดงความยินดีที่คณะ  เพราะท่านมีตำแหน่งสำคัญเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยอีกตำแหน่งด้วย

ถ้าเราซื้อเป็นของขวัญสำเร็จรูปก็จะง่ายดายใช้เวลาไม่กี่นาที  ค่าของขวัญ 150 บาท  เฉลี่ยคนละบาทเดียว  แต่ที่ผมเสนอแต่งกลอน  ก็เพราะผมเป็นรองประธานชุมนุมวรรณศิลป์  แต่ลืมนึกไปว่าตนเองถนัดแต่งโคลงสี่สุภาพ  แต่งกลอนไม่ได้เรื่อง  แต่เพื่อให้ท่านอาจารย์ชื่นใจ  เมื่อได้ฟังบทกลอนซึ่งท่านเองเป็นศิษย์แต่งร้อยกรองของภราดา ฟ. ฮีแลร์  ท่านจึงแต่งได้ทั้งโคลงฉันท์กาพย์กลอน

ผมเค้นสมองกลวงๆ แต่งกลอนสดุดีได้ 5 บท  ส่งให้เพื่อนที่มีความสามารถในการใช้พู่กันเขียนอักษรวิจิตร  นำไปเขียนลงกระดาษสีสวยๆ ใส่กรอบแบบกรอบรูป  คุณ(ประ)ทินวัฒน์  มฤคพิทักษ์ รับภาระไปดำเนินการโดยจ่ายเงินไม่ถึง 50 บาท

ครั้นพิธีแสดงความยินดี  ท่านอาจารย์เลขานุการคณะกล่าวนำ  และมอบของขวัญเสร็จก็เชิญผมอ่านกลอน  ท่านอาจารย์และนักศึกษานิ่งฟังเงียบเรียบร้อยจนจบ  เสียงปรบมือกราวใหญ่  ผอ่านเสร็จก็ชวนเพื่อนผู้แทนทั้ง 5 คนของรุ่นปี 2 มอบบทกลอน  ท่านถามว่าใครแต่ง  ผมตอบว่าผมแต่งเองครับ

ผมเป็นนักศึกษาที่ "ไม่เอาถ่าน"  คือ  ใช้เวลาเกือบทั้งวันอยู่ที่สโมสรเตรียมและจัดกิจกรรมต่างๆ  แต่ประหลาดที่เพื่อนร่วมรุ่นก็ยังเลือกตั้งเป็นหนึ่งในห้าของผู้แทนชั้นจนถึงปีที่ 4  (แต่ผมเรียนจบ 5 ปีครึ่ง)  ดังนั้น จึงมีโอกาสได้พบท่านคณบดี ดร. ป๋วย  ในกิจกรรมของคณะปีละ 2 - 3 ครั้งเท่านั้น

ผมจบปริญญาตรี  ไปรับราชการกระทรวงพาณิชย์ในต่างจังหวัด  จนกระทั่งปี 2519 เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา  ทำให้ท่านอาจารย์ ดร. ป๋วย  ประสบเคราะห์กรรมจากความบ้าคลั่งทางการเมืองจนต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ  ผมและครอบครัวก็ได้แต่เศร้าสลดสะเทือนใจ  และเศร้ามากขึ้นอีกใน 3 - 4 ปีต่อมาเมื่อมีข่าวว่าท่านป่วยเส้นเลือดแตกจนกลายเป็นอัมพฤกษ์มือขวาใช้การไม่ได้  ที่ร้ายสุดคือพูดไม่เป็นถ้อยคำปกติ

ปี 2525 ปลายกันยายน  ผมเป็นพาณิชย์จังหวัดชลบุรี  ซึ่งตอนนั้นเป็น "ศูนย์ของการผลิตแปรรูปและส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง"    ขณะนั้นมีปัญหามาก  ผมจึงพยายามศึกษาจนครบวงจรและชวนพ่อค้าจากชลบุรีใช้เงินส่วนตัวไปดูงานการนำเข้าและการใช้มันสำปะหลังในยุโรป

รศ. ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง  สนใจมากจึงขออนุมัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปในคณะของเราด้วย  เมื่ออยู่ดูงานที่กรุงลอนดอนเสร็จ  เย็นนั้น  ดร. เจิมศักดิ์บอกว่าขอสละสิทธิ์ไม่ไปกินที่โซโห และดูโชว์  เพราะจะแยกไปเยี่ยมอาจารย์ ดร. ป๋วย  ผมจึงตาม ดร. เจิมศักดิ์ไป  โดยนั่งรถไฟออกชานเมืองราว 7 สถานี  ก็ไปถึงที่พักของท่านซึ่งเป็นทาวน์เฮาส์ 2 ชั้นเล็กๆ

ดร. เจิมศักดิ์รายงานว่า "คุณศุภกิจ  ศิษย์เก่ารุ่นแรกๆ ที่ท่านเป็นคณบดี"  ผมเสริมว่าที่แต่งกลอนให้ท่านเมื่อครั้งรับรางวล "แมกไซไซ"  ท่านเพ่งหน้าผมแล้วพยักหน้าแสดงอาการว่า "จำได้ๆ" แต่ผมไม่มีอะไรจะสนทนา  ในขณะที่ ดร. เจิมศักดิ์  ซึ่งเป็นทั้งศิษย์ใกล้ชิดและเป็นอาจารย์เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์  จึงมีเรื่องเล่ามากจนเวลาสมควร  เราถ่ายรูปกับท่านไว้ก่อนกลับไปโดยรถไฟอีกขบวนหนึ่ง

ต่อมาอีกหลายปี  ขณะผมมาทำงานเป็น "ผู้ตรวจการพาณิชย์"  ในกรุงเทพฯ  ได้รับการแต่งตั้งจากศาสตราจารย์ คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดงานฉลองอายุ 70 ปี ของศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์  ผมทั้งดีใจที่มีโอกาสได้ฉลองพระคุณและแปลกใจว่าข้าราขชการเล็กๆ ที่อยู่ใน "กรุ" เหตุใดจึงได้รับแต่งตั้งด้วย

ในการประชุมครั้งแรก  ท่านอธิการบดีได้ให้กรรมการแนะนำตัวเองก่อนเริ่มวาระต่อไปจนปิดประชุม  ผมก็ตรงไปยังประตู  แต่มีอาจารย์สตรีอาวุโสกว่าผมยืนดักอยู่ถามเชิงปรารภว่า

"คุณใช่ไหม  ศุภกิจ นิมมานนรเทพ  ที่แต่งกลอนแมกไซไซให้อาจารย์ ดร. ป๋วย"

ผมรับคำอย่างงงๆ  สงสัยว่าทำไมอาจารย์ท่านนี้ซึ่งผมไม่รู้จัก  แต่กลับรู้ว่าผมแต่งกลอนนั้นซึ่งผมเชื่อว่าเพื่อนนักศึกษาเศรษฐศาสตร์ทั้งคณะที่อยู่ในเหตุการณ์ผมอ่านกลอนสดุดีท่านอาจารย์ ดร. ป๋วย  ก็คงจำได้สัก 2 - 3 คน

ท่านอาจารย์สตรี  ยื่นนามบัตรให้ผมและไขความว่า "หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาแล้ว  พี่ไปช่วยกันเก็บของส่วนตัวในห้องอธิการบดีที่อาจารย์ป๋วยเคยทำงาน  ก็ไม่ค่อยมีสมบัติอะไรมากหรอกนะ  แต่กลับมีบทกลอนที่คุณแต่งให้ท่านนั้น  ตั้งอยู่บนโต๊ะทำงาน  พวกเราได้เก็บรวมใส่กล่องไปมอบให้ลูกชายท่านรับไปแล้ว....คุณจำบทกลอนนั้นได้ไหม  จะได้คัดมาแสดงในวาระนี้อีกน่ะ...."  เวรกรรม  ผมจำไม่ได้  แต่จำได้ว่าผู้ที่สนทนากับผมคือ (พี่) รศ. จำเรียง ภาวิจิตร  ผู้อำนวยการสำนักเสริมศึกษาและบริการสังคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เพราะท่านให้นามบัตรแก่ผมด้วย

วันที่ 13 มกราคม 2559  คุณทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์  บอกผมและเพื่อนๆ ว่าให้นำเหตุการณ์หรือนาทีประทับใจที่แต่ละคนมีต่อท่านอาจารย์ ดร. ป๋วย มาเล่าสู่กันฟังในวาระ 100 ปี ชาตกาลของท่านในปีนี้  เขาบอกให้ผมรำลึกถึงกลอนสดุดีที่แต่งให้ท่านนั้นนำมาอ่านให้คนฟังด้วย  โธ่....52 ปีแล้ว ผมจำได้เลาๆ เพียงบทแรกกับบทท้าย คือ

                 ⊙   อยากจะให้       โลกนั้น         เป็นฉันนี้
                       คือคนดี            ทำดี              คนเห็น
                       แล้วเชิดชู         เทิดผลงาน    ท่านบำเพ็ญ
                       เพื่อจะเป็น        ตัวอย่าง         สร้างคนดี

                           ฯลฯ  บทที่ 2-3-4  เป็นเรื่องราวในช่วงนั้น

                 ⊙   อยากจะให้        โลกนั้นเป็น    เช่นวันนี้
                       คือคนดี              รับชูเชิด        เทิดสรรเสริญ
                       ยกย่องงาน         มีคุณค่า        ยิ่งกว่าเงิน
                       โลกเจริญ           ด้วยคุณธรรม  นำโลกเอย

                ▪---------------------------------------------------------------------------▪

หลังเกษียณ  ผมบรรยาย/สอนฝึก "พลังลมปราณ" เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้สนใจเข้าฟังฟรี  มีหนังสือคู่มือแจกฟรี  เฉพาะที่สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม ธรรมศาสตร์  ท่าพระจันทร์  ตั้งแต่ 2543 จนบัดนี้  สิบปีแรกผมบรรยายทุกเดือนเพราะมีคนสนใจมาก  โดยเฉพาะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

ครั้งแรก  ผมรับเชิญมาบรรยาย/สอนให้แก่พนักงานฝ่ายบัญชี  จัดที่บางขุนพรหม  ต่อมาอีก 3 ครั้ง  เชิญให้ผมไปกับคณะซึ่งไปจัดสัมมนาที่หัวหิน  ครั้งละนับร้อยคน  ผมคิดว่าคงหมดคนสนใจแล้ว  แต่อีกเดือนเศษ  คุณวิไล  ผู้ประสานงานได้โทรศัพท์จองคิวบรรยายว่า  ยังมีผู้สนใจอีกหลายสิบคนที่ไปกับกอง/ ฝ่ายไม่ได้  ขอให้จัดบรรยายที่บางขุนพรหม   ผมถือว่าการไปบรรยายที่นี่  เสมือนได้ทดแทนพระคุณท่านอาจารย์ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์  ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในอุมคติของทุกคน  ผมจึงขอให้คุณวิไลแจ้งจำนวนผู้สมัครเข้าฟัง เพื่อผมจะนำหนังสือฯ คู่มือฝึก "พลังลมปราณ" ไปแจกให้ครบทุกคน  ช่วงแรกคุณวิไล บอกว่า "สัก 100 เล่มก็พอค่ะ"  ต่อมาแจ้งเพิ่มอีกๆ จนถึงวันที่ผมมาบรรยาย คุณวิไลโทรศัพท์ "ขอ 500 เล่มค่ะ"

ขณะที่ผมเดินตามผู้ประสานงานไปยังห้องบรรยาย  เธอเล่าว่า  "ผู้สนใจเพิ่มขึ้นๆ ต้องเปลี่ยนห้องบรรยายให้มีที่นั่งพอเพียงจนที่สุดยอดผู้ฟัง 400 กว่าคน  จึงต้องใช้ห้องประชุมใหญ่ 500 ที่นั่ง  ผมชะงักอยู่หน้าประตูเข้าห้อง  เพราะป้ายหน้าห้องคือ "ป๋วย อึ๊งภากรณ์" มีภาพเหมือนของท่านอยู่หน้าเวที

ผมตื้นตันใจมาก  หากใครสังเกตคงได้ยินเสียงผมสั่น  เพราะผมพึมพำพูดขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่เมตตาให้รางวัลที่มีค่าสูงสุดแก่ชีวิตผม คือ การได้ขึ้นเวทีไปเป็นวิทยากรใน "ห้องประชุม ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์"  ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม  ผมจึงซึ้งใจว่าด้วยจิตวิญญาญของท่าน  แม้ศิษย์จะเรียน "โหลยโท่ย" แต่ถ้าทำความดีมีค่าต่อสังคม ท่านก็มอบรางวลให้ ดังรางวัลที่ผมได้ในครั้งนั้น  ทำให้ตื้นตันตลอดชีวิต